กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมปลูกรักษาพันธุกรรมพืช |
มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ วิทยาเขตสะลวง-ขี้เหล็ก ได้จัดสรรพื้นที่เพื่อการอนุรักษ์พันธุพืช ประเภท ไผ่ จำนวน 2,964 ตารางเมตร โดยปลูกไผ่ จำนวน 9 ชนิด ดังนี้ 1. ไผ่รวก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Thyrsostachys siamensis Gamble ชื่อวงศ์ : Gramineae ชื่อสามัญ : - ชื่อพื้นเมือง : ตีโย รวก ว่าบอบอ แวบ้าง แวปั่ง ฮวก สะลอม ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : พืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 2- 5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียวอมเทา ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีช้อปล้องชัดเจนแต่ละปล้องจะยาว15-30 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ
ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ 2 แถว ใบรูปหอก กว้าง 0.6-1.2 เซนติเมตร ยาว 8-14 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบมน ขอบใบเรียบคม ผิวใบด้านบนเรียบ สีเขียวอ่อน ใบแก่สีเหลืองอ่อน มีเส้นลายใบ ข้างละ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ปลูกประดับสวนเป็นฉากหลัง กันลม ลำต้นและกอเป็นระเบียบสวยงาม มีใบเล็กและพลิ้วลม เปลาตรง ไม่มีหนาม ผิวต้นสดเขียวแก่ เมื่อแห้งสีเหลือง ต้องคอยตัดแต่งทรงพุ่มให้มีขนาดตามที่ต้องการ
ประโยชน์ : ไม้ไผ่ใช้ ทำรั้ว ทำคันเบ็ด ทำเครื่องจักสาน เครื่องมือกสิกรรมบางอย่าง โป๊ะน้ำตื้น หน่อ กินได้
2. ไผ่ไร่ ชื่อวิทยาศาสตร์ : Gigantochloa albociliata (Munro) Munro ชื่อวงศ์ : Poaceae ชื่อสามัญ : - ชื่อพื้นเมือง : ไม้ไร่(เมี่ยน) ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :ไผ่ ไร่เป็นไผ่ใบเขียวตลอดปีถ้าอยู่ในป่าดงดิบ และทิ้งใบเมื่ออยู่ป่าเบญจพรรณ ลำต้นแน่นเป็นกอ ลำสีเขียวแกมเทาและโค้ง มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 1.5-3.0 ซม. ข้อนูนเห็นได้ชัด ปล้องยาวได้ 15-40 ซม. มีขนสั้นมั่งทั้งปล้อง ลำหนา 0.5-1.0 ซม. กิ่งเรียวยาว ใบ (Foliage) : ใบ รูปแถบ ขนาดกว้าง 2.0-2.5 ซม. และยาว 15-20 ซม. ท้องใบไม่มีขน หลังใบสากและคาย กระจังใบค่อนข้าวยาว มีขนยาว กาบหุ้มใบเรียบ มีขนแข็ง ปลายตัด กาบหุ้มลำเมื่ออ่อนมีขนสีน้ำตาลคลุมแน่น แก่จะร่วงหลุดไป ปลายกาบเรียบ ขอบล่างจะโค้งงอเข้า ครีบกลีบเล็กและโค้ง กระจังกาบยาว ขอบหยักปลายตัด ใบยอดกาบยาว รูปหอก ปลายเรียวแหลม โคนกว้างกลม และอาจมีปีกออกด้วย หน่อมีขนาดเล็ก ประโยชน์ : หน่ออ่อน หั่นเป็นแผ่นบางๆใช้ทำหน่อไม้ดอง(เมี่ยน)
3. ไผ่ซาง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocalamus strictus (Roxb.) Nees ชื่อวงศ์ : Poaceae ชื่อสามัญ : ซาง, ไผ่ซาง ชื่อพื้นเมือง : ไม้ซาง(คนเมือง), ครั่งเปร้า(ปะหล่อง), ลำซาง(ลั้วะ), เพ้าเบี่ยง(เมี่ยน) ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :เป็น ไม้ไผ่หน่ออัดใบ ลำต้นมีสีเขียวอ่อน ไม่มีหนาม ผิวเป็นมัน มีกิ่งเเขนงมาก สูงประมาณ 6-20 ซม. มีเนื้อประมาณ 5-8 มม. ปล้องยายประมาณ 15-50 ซม.เนื้อไม้หยาบ โดยทั่วไปลำต้นมีไม้ผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-12.5 ซม. ถ้าพบบริเวณเนินเขาสูงลำต้นจะมีเส้นผ่าศูนย์กลาง 2,5-10 ซม. ข้างนอกกาบจะมีขนเเข็งสีน้ำตาลเหลือง ในพื้นที่เเห้งเเล้งอาจจะไม่มีขนขณะที่ยังอ่อน กาบหุ้มลำมีสีเขียวอมเหลือง ครีบกาบเล็กหรือไม่มีกระจังกาบเเคบ หยัก ใบ (Foliage) : ยอด กาบตรงเป็นรูปสามเหลี่ียมเเคบๆใบปลายใบเรียวเเหลม โคนใบเป็นมุมป้าน ขนาดใบยาว 12-30 ซม. กว้าง1-2ซม. ลักษณะใบมีขนอ่อนเเน่นเส้นลายใบมี2-6 เส้น เล้นลายใบย่อยมี 5-7เส้น ประโยชน์ : - หน่ออ่อน ประกอบอาหารเช่น แกงหน่อไม้(เมี่ยน,ปะหล่อง) - เนื้อไม้ ใช้เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฟาก ฝาบ้าน(ลั้วะ) เนื้อไม้ นำไปจักสานและใช้เป็นโครงสร้างต่างๆ ของบ้าน เช่น ฟาก ฝาบ้าน(ปะหล่อง) - ปล้อง นำมาผ่าครึ่งซีกแล้วใช้ทำเป็นรางน้ำให้ไก่กิน(คนเมือง)
4. ไผ่เลี้ยง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa multiplex (Lour.) Raeusch. ชื่อวงศ์ : Gramineae ชื่อสามัญ : Hedge bamboo ชื่อพื้นเมือง : ไผ่สร้าง ไผ่เชียงไพร ไผ่สร้างไพร เพ็ก ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :พืช ล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 1- 4.5 เซนติเมตร ผิวเกลี้ยง สีเขียว ไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีช้อปล้องชัดเจน แต่ละปล้องยาว 20- 30 เซนติเมตร มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ ใบ (Foliage) : ใบ เดี่ยว เรียงสลับ 2 แถว ใบรูปหอก กว้าง 0.5-1.5 เซนติเมตร ยาว 2.5-15 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบคม แผ่นใบสีเขียว มีกาบหุ้มลำต้น หนาแช็งไม่แนบชิดลำต้นหลุดร่วงไปเมื่อแก่ ยอดกาบหนาแข็งมักมีขนคายทางด้านในมีติ่งกาบเห็นชัดเจน ตอนปลายกาบตรงที่ต่อกับใบจะมีลิ้นใบ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกเป็นฉากหลัง บังสายตา เป็นแนวรั้ว กันลมปลูกตามแนวทางเดินหรือถนนขนาดเล็กในสวนสาธารณะหรือรีสอร์ท ประโยชน์ : ใช้ ทำกระดาษ ทำเครื่องจักสานทำบันได โป๊ะ แม่บันได และทำเฟอร์นิเจอร์ หน่อนำมาปรุงอาหารได้หลายวิธี เช่น นำมาแกง ต้ม ผัดและดองใส่น้ำพริก ยำหน่อไม้ ลำต้นเรียวเหมาะสำหรับทำคันเบ็ดได้
5. ไผ่เหลือง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa vulgaris Schrad. ex H. Wendl. var.vulgaris ชื่อวงศ์ : Gramineae ชื่อสามัญ : Common Bamboo , Golden Bamboo ชื่อพื้นเมือง : ไผ่เหลือง (ภาคเหนือ) ; ไผ่หลวง (กรุงเทพ); จันคำ,ไผ่จีน , ไผ่รีไช (เขมร) ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :ลำต้นมีสีเหลือง และแถบเขียวริ้วตามความยาวของปล้อง ผิวเกลี้ยง มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 7 - 12 เซนติเมตร ปล้องยาวประมาณ 20 25 เซนติเมตร หน่ออ่อนมีสีเหลืองอ่อน ใบ (Foliage) : ยอดกาบจะมีฐานกว้าง ยอดแหลมและสั้น ดอก : มีการพัฒนาการออกดอกเป็นลำหมุนเวียนกันไปทุกปีไผ่ชนิดนี้ไม่ตายภายหลังการออกดอก ประโยชน์ : นิยมปลูกเป็นไม้ประดับเพียงอย่างเดียวเนื่องจากมีราคาแพง แต่ก็ยังนำมา ทำอุปกรณ์เครื่องเรือน และเครื่องใช้อื่นๆ ด้วย เช่น เก้าอี้ โต๊ะ แคร่นอน
6. ไผ่ป่า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa Bambos (L.X Voss ) ชื่อวงศ์ : Gramineae ชื่อสามัญ : Common Bamboo , Golden Bamboo ชื่อพื้นเมือง : ไผ่ป่า ลักษณะทั่วไป (Characteristic) :เป็น ไผ่ขนาดใหญ่ กอแน่น มีหนาม และมีแขนงรกแน่น โดยเฉพาะตรงบริเวณโคนลำ สูงประมาณ 10-24 ซม. มีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 15-18 ซม. ปล้องยาวประมาณ 20-40 ซม. เนื้อหนา 1-5 ซม. ลำอ่อนมีสีเขียว ลำแก่จะมีสีเขียวเหลือง ข้อมีลักษณะบวมเล็กน้อย รูกระบอกเล็ก กาบหุ้มลำลักษณะแข็งเหมือนหนัง ร่วงหลุดได้ง่าย ยาว 30-40 ซม. กว้าง 20-30 ซม. ตอนปลายกลม ขอบเรียบและมีขนสีทอง ลำใหญ่กว้าง กระจับกาบหุ้มลำแคบ ใบยอดกาบเป็นรูปสามเหลี่ยม ใบ (Foliage) : ปลาย ใบเรียวแหลม โคนใบป้านหรือเกือบกลม ท้องใบมีขน เส้นกลางใบข้างบนแบน ก้านใบสั้น 0.5 ซม. ครีบใบเล็ก ขอบใบมีหนามเล็ก ๆ กาบใบแคบไม่มีขนนอกจากตามขอบอาจจะมีขนอ่อน ดอก : จะออกดอกเป็นกลุ่ม(Gregariour flowering)ไม้ไผ่ที่ออกดอกประเภทนี้ จะออกดอกพร้อมๆกัน ครอบคลุมพื้นที่เป็นบริเวณกว้าง ประโยชน์ : ผลผลิตจากไผ่ที่สำคัญคือ หน่อไม้ ซึ่งเป็นอาหารสำคัญของคนไทย นิยมทานกันมากในเกือบทุกภาคของประเทศไทย โดยเฉพาะภาคเหนือและอีสาน นอกจากนี้ไม้ไผ่ยังมีคุณสมบัติพิเศษทั้งด้านความแข็งแรงและยืดหยุ่นที่เหนือ กว่าวัสดุสังเคราะห์หลายชนิด ดังนั้นจึงยังได้รับความนิยมในการทำเครื่องมือเครื่องใช้หลายประเภท ใช้ชะลอน้ำที่เข้าป่าชายเลน นั่งร้านก่อสร้างและบันได เป็นต้น ลำต้นใช้ทำนั่งร้านสำหรับก่อสร้างหรือทาสี ใช้ทำบันไดขึ้นต้นตาล ปลูกเป็นแนวกันลม และปลูกเพื่อป้องกันริมฝั่งน้ำ หน่อมีการแปรรูปเป็นหน่อไม้ดอง
7. ไผ่ตง ชื่อวิทยาศาสตร์ : Dendrocalamus asper (Schultes f.) Backer ex Heyne ชื่อวงศ์ : POACEAE ชื่อสามัญ : Rough Giant Bamboo ชื่อพื้นเมือง : ไผ่ตง ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : เป็นไผ่ประเภทเหง้ามีกอขนาดใหญ่ สูง 20-30 เมตร ลำตรงอัดกันเป็นกอค่อนข้างแน่น ปลายลำโค้งถึงห้อยลง เส้นผ่านศูนย์กลางลำ 10-20 เซนติเมตร ปล้องยาว 20-50 เซนติเมตร เนื้อลำหนา 1-3.5 เซนติเมตร ลำอ่อนปล้องล่างมีขนสีน้ำตาลปกคลุมหนาแน่น ปล้องบนมีขนสีขาวหรือสีเทาปกคลุม ลำแก่สีเขียวเข้มหรือสีเขียวอมเทา ปล้องล่างยังมีขนปกคลุมหนาแน่นและมักมีรากอากาศจำนวน มากออกตามข้อ แตกกิ่งต่ำหรือตั้งแต่กลางลำต้นขึ้นไป มีข้อลำ 3-5 กิ่ง กิ่งเด่นหนึ่งกิ่งอยู่ตรงกลาง กิ่งที่เหลือขนาดไล่เลี่ยกันมักมีรากอากาศที่กิ่ง ใบ (Foliage) : ใบเป็นรูปแถบแกมรูปใบหอกมีขนาด กว้าง 1.5-4.5 เซนติเมตร ยาว 15-30 เซนติเมตร กาบหุ้มลำมีสีน้ำตาลอมม่วงหรือสีน้ำตาลจนถึงสีเขียวอ่อน กาบของหน่ออ่อนหรือกาบล่างๆของลำปกคลุมด้วยขนสีน้ำตาลเข้ม ส่วนกาบของหน่อบินหรือปล้องบนๆของลำมักมีขนสีน้ำตาลอ่อนจนถึงสีเทา ใบยอดกาบรูปใบหอก สีน้ำตาลอมม่วงจนถึงสีเขียวอมม่วง กางออกถึงพับลง หูกาบเป็นพูเด่น ขอบและด้านในมีขนแข็งและยาวปกคลุม ลิ้นกาบเป็นแถบสูงประมาณ 1 เซนติเมตร ขอบจักไม่สม่ำเสมอและมีขน ประโยชน์ : ลำใช้ก่อสร้าง ทำเฟอร์นิเจอร์และเครื่องจักสาน และนิยมนำหน่อมาบริโภค ไผ่ตงมีทั้งหมด 4 สายพันธุ์ 1. ไผ่ตงหนู บางครั้งเรียกไผ่ตงเล็ก เนื่องจากเป็นสายพันธุ์ที่มีขนาดเล็กกว่าสายพันธุ์อื่นๆ เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 3-6 เซนติเมตร ส่วนใหญ่แล้วมีความนิยมในการปลูกน้อยเนื่องจากให้ผลผลิตที่ต่ำกว่าสายพันธุ์ อื่น แต่ในบางพื้นที่ เช่น จังหวัดลำปางและเชียงใหม่ จะให้ผลผลิตค่อนข้างดี 2. ไผ่ตงเขียว เป็นไผ่ตงที่มีลำต้นขนาดเล็กและสั้น ลำต้นมีสีเขียวตามชื่อแต่มีเนื้อไม้ที่บาง เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 5-12 เซนติเมตร ใบบางสีเขียวเข้ม มีขนาดปานกลางไม่สากมือ ส่วนหน่อของสายพันธุ์นี้จะมีเนื้อสีขาวแกมเหลือง รสชาติหวานอมขมเล็กน้อย สายพันธุ์นี้เป็นสายพันธุ์ที่่ทนต่อความแห้งแล้งได้ดีจึงเป็นที่นิยมปลูกกัน มากในแถบภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ไผ่ตงดำ หรือตงหวาน มีลำต้นสีเขียวอมดำตามชื่อเรียก สายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่รองลงมาจากไผ่ตงหม้อแต่มีลำต้นที่เตี้ยและสั้นกว่า เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 9-12 เซนติเมตร ใบมีสีเขียวเข้มหนาและมีขนาดใหญ่สังเกตเห็นร่องใบได้ชัดเจน ไผ่ตงดำได้ชื่อว่าเป็นไผ่ตงที่เป็นหนึ่งในเรื่องหน่อไม้เพราะ หน่อของสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ไม่มีเสี้ยน รสชาติหวาน เนื้อกรอบและขาวละเอียด ดังนั้นหน่อไม้ของสายพันธุ์นี้จึงเป็นที่นิยมในการปลูกและนำมาบริโภคหรือค้า ขายค่อนข้างมาก 4. ไผ่ตงหม้อ หรือตงใหญ่ ไผ่ตงสายพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่ที่สุดจากทั้งหมด 4 สายพันธุ์ มีลำต้นที่ยาวและสูง เส้นผ่านศูนย์กลางลำประมาณ 12-18 เซนติเมตร ส่วนใบมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับสายพันธุ์อื่น ลำต้นสูงโปร่งเนื่องแตกกิ่งน้อย หน่อมีขนาดใหญ่มากมีสีน้ำตาลอมดำหรือน้ำตาลอมม่วง น้ำหนักหน่อประมาณ 5 กิโลกรัมขี้นไป เนื้อหน่อจะหยาบ แข็ง และมีสีขาว หน่อจะออกมากในช่วงฤดู
8. ไผ่สีสุก ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa blumeana Schult.f. ชื่อวงศ์ : GRAMINEAE-BAMBUSOIDEAE ชื่อสามัญ : - ชื่อพื้นเมือง : ไผ่สีสุก สีสุก , ไผ่เปาะ (เหนือ) ไผ่โปก ไผ่หวาน (เชียงใหม่) ว่ามีบอ (แม่อ่องสอน) ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : เป็นไม้ไผ่ประเภทมีหนาม ลำต้นสูง 10 - 18 เมตร แข็ง ผิวเรียบเป็นมัน ข้อไม่พอง กิ่งมากแตกตั้งฉากกับลำต้น หนามโค้งออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 3 อัน อันกลางยาวลำมีรูเล็กเนื้อหนาใบมีจำนวน 5 - 6 ใบ ที่ปลายกิ่ง ปลายใบเรียวแหลม โคนใบเป็นรูปลิ่มกว้าง ๆ หรือตัดตรง ใต้ใบมีสีเขียวอมเหลือง เส้นลายใบมี 5 - 9 คู่ ก้านใบสั้น ขอบใบสาก คลีบใบเล็กมีขนดอก เป็นช่อมีกาบหุ้มเหมือนหญ้าเมล็ด มีขนาดเล็กคล้ายเมล็ดข้าวสาร ประโยชน์ : เนื้อไม้หนาแข็งแรง ใช้สร้างบ้านในชนบทได้ทนทานโบราณใช้น้ำต้มรากช่วยลดอาการปวดข้อ
9. ไผ่น้ำเต้า ชื่อวิทยาศาสตร์ : Bambusa ventricosa McClure. ชื่อวงศ์ : Gramineae ชื่อสามัญ : Buddha's belly bamboo ชื่อพื้นเมือง : - ลักษณะทั่วไป (Characteristic) : พืชล้มลุกอายุหลายปี เป็นไม้พุ่มเป็นกอ ลำต้นตั้งตรง กลม เป็นทรงกระบอกกลวง ขนาด 3- 5.5 เซนติเมตร สูง 2-3 เมตร ผิวเกลี้ยง ต้นอ่อนสีเขียวอ่อน ต้นแก่สีเขียวอมเหลืองไม่มีหนาม เนื้อเเข็ง มีช้อปล้องชัดเจน และค่อนข้างถี่ มีเหง้าใต้ดินสั้น ไม่ทอดขนานไปทางระดับ ใบ (Foliage) : ใบเดี่ยว เรียงสลับ 2 แถว ใบรูปหอก กว้าง 1.5-3 เซนติเมตร ยาว 8-20 เซนติเมตร ปลายใบแหลม โคนใบสอบ ขอบใบเรียบคม ผิวใบด้านบนเรียบเป็นมัน สีเขียว ผิวใบด้านล่างหยาบ กาบหุ้ม ลำต้นหนาแช็ง ไม่แนบชิดลำต้น หลุดร่วงไปเมื่อแก่ ยอดกาบหนาแข็งมักมีขนคาย ทางด้านในมีติ่งกาบเห็นชัดเจน ตอนปลายกาบตรงที่ต่อกับใบจะมีลิ้นใบ การใช้งานด้านภูมิทัศน์ (Landscape Used) : ทรงพุ่มสวย ปลูกเป็นจุดเด่นตามมุมอาคาร ริมศาลา หรือเป็นฉากหลัง บังสายตา ใช้ประดับสวน ควรตัดกิ่งโคนต้นให้เห็นลำชัดเจน ทนน้ำท่วมขัง ประโยชน์ : หน่อสามารถนำมาทำอาหารรับประทานได้ ใบ นำมาปรุงเป็นยาขับฟอกโลหิต ระดูที่เสีย
|